วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รถโบราณ

 ประวัติความเป็นมาของรถโบราณ
 
ตอน สิ้นสุดสงครามโรงงานส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะผลิตอะไรได้ถนนและรางรถไฟถูก ทำลายเรือต่าง ๆ ถูกทำลาย Tuscany มีร่องรอยมากมายจากสงครามรวมทั้งโรงงานของ Piaggio ที่เมือง Pontedera"Piaggio ถูกตั้งที่ Seastri Ponente ในเมืองเจนัวประเทศอิตาลีในปี ค.ศ.1881และเจริญเติบโตจนประสบผลสำเร็จภายใต้การผลักดันของ Rinaldo Piaggio ลูกค้าของ Enrico ผู้ทำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนของเรือด้วยความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ทางเทคโนโลยี Rinaldo พยายามขยายส่วนของเขาออกไปจากการผลิตส่วนประกอบเรือ เขาจึงคิดเริ่มผลิตรางรถไฟรถไฟ ปีค.ศ.1917 เขาได้เข้าทำกิจการต่อจากคนอื่นในการทำโรงงานผลิต เรือเร็วที่ Finale Ligune and Pisa ขณะที่มีสงครามลูกชายของเขาสองคนคือ Anmando และ Enrico ได้แบ่งกันทำธุรกิจ Anmando ควบคุม และจัดการ โรงงานที่ Sestri and Finale ส่วน Enrico ดูแลโรงงาน Tuscan ของ Pisa และPontedera หลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 เหลือแต่โรงงาน Finale Ligure และบางส่วนของ SestriGenoa เท่านั้นความคิดดั้งเดิม Enrico จึงได้ตัดสินใจที่จะหยุดการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที่ยาก และเป็น งานซับซ้อนหันมาผลิตเครื่องยนต์แบบง่ายในแบบ Four - Part P 108 ให้กับรถเวสป้า ที่โรงงาน Pontedera ซึ่งเคยผลิต radial engine (สำหรับเครื่องบิน) ซึ่งทำลายสถิติที่ทำไว้แล้ว 21 ครั้งก่อน นาย Enrico ยังเห็น ภาพการปรักหักพังที่เกิดขึ้นสงครามติดตาอยู่เขาเข้าใจว่าการจะแข่งขันกับ North American Company เป็นเรื่องยาก เขาจึงคิดที่จะนำคนงานที่เคยเป็นหัวหน้าคนงานคนนั้นกลับมาด้วยการที่มี เครื่องยนต์ พิเศษเหลืออยู่เพียงน้อยนิด จึงเกิดความคิดที่สร้างยานพาหนะเล็ก ๆไว้เดินทางขนส่งและสำรวจใน โรงงานคือ MP5 หรือโดนัลดัค ซึ่งในรุ่นนี้ทำจากซากชิ้นส่วนของเครื่องบินดังนั้นรูปร่างมันจึงมีความน่า เกียจมากกว่าน่ารักอย่างเดียวกับที่พวกคนงานในโรงงานเรียกเพราะมันมีรูปร่าง แปลก ๆ มันคือ Scooter รถจักรยานยนต์คันเล็ก ๆ ที่มีล้อต่ำ ๆ ช่วยต่อการขับขี่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมันและราคาไม่แพง Enrico เห็นว่ารถจักรยานยนต์ใหม่ของเขาจะต้องทำให้คนอิตาลีหันมาขี่กันทั้งประเทศ อิตาลีทั้งๆที่ประเทศอิตาลียังคงมีแต่ซากปรักหักพังและน้ำมันขาดแคลน CorradinoD'Ascanio ได้เป็นวิศวกรผู้ทำการออกแบบ และในเดือนธันวาคมปีค.ศ.1945.รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆถ้าในเวลาขับขี่รถติดก็มีที่กำบังกันน้ำ กระเด็นใส่จึงทำให้ประชาชนในประเทศอิตาลีเริ่มรู้จักรถจักรยานยนต์แบบ Scooter เมื่อ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า"มันเหมือนตัวต่อ ร้องเลย"ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1946 Piaggio และ บริษัทของเขา ได้หยิบเอา ความคิดที่ดีออกมาใช้ในการออกแบบ จากนั้นปีต่อ ๆ มาจึงผลิตรถเวสป้าในปีหนึ่งนั้น จะผลิตรถ vespa ออกมาหนึ่งรุ่นถึงสองรุ่น Dott. Enrico Piaggio เกิดเมื่อ 22 ก.พ. 1905 เป็นบุตรชายของ Rinaldo Piaggio จบการศึกษาที่ Genoa ทางด้าน Economic และ commerce เข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปี 1928 ตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน Pontedena ภายหลังในปี 1938 พ่อของเขาได้เสียชีวิตลง Enrico จึงได้รับภาระบริหารงานทั้งหมด University of Pisa มอบปริญญาเอกทางด้าน วิศวกรรมให้ Enrico เขาเสียชีวิตลงในปี 1965 หลังจากผลิตรถเวสป้า ส่งขายทั่วโลกครบ 1000000 คัน หลังสงครามโลกครั้งที่2 จบลง


โรงงานของ Enrico ถูกทำลายจากาการทิ้งระเบิดของเยอรมัน ในช่วงของการฟื้นฟูเศรษฐกิจการต้องการพาหนะที่ประหยัดมีมากจึงทำให้ Enrico เกิดความคิดที่จะนำชิ้นส่วนต่างๆ ในโรงงานนี้มาสร้างพาหนะนั้นนะ ที่มีคุณสมบัติระหว่าง Motorbike กับรถยนต์ในเดือนเมษายนปี 1945 Corradino D’Ascanio นักออกแบบในโครงการนี้ได้ ร่างภาพออกมาตัวถัง ทำจากเหล็ก แผ่นที่มีสันกระดูกกลางใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็ก 4-5 แรงม้า วางอยู่ตำแหน่งหลังเพื่อป้องกันการสกปรก ไม่เหมือนกับรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆๆไปที่นั่งมีบังลมป้องกันเสื้อผ้าและขาและ สิ่งหนึ่งที่เขาบุกเบิกคือ การเปลี่ยนเกียร์ที่คันบังคับจากมือซ้ายและโยงไปยังเครื่อง เมื่อ Enrico ได้เห็นแบบร่างในครั้งแรกเขาตั้งชื่อมันว่า Vespa เพราะมีรูปร่างคล้ายๆๆตัวต่อ (Wasp) Classic Scooter คำว่า "scooter" ที่หมายถึงยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์นั้น มีการให้ความหมายกว้างขวางมาก หลายๆคนมองว่า scooter คือยานยนต์ที่มีล้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สีสรรสดใส และราคาประหยัด จุดเด่นของ scooter ก็คือเพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางช่าง scooter มีการวางจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งเริ่มมีการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูกออกวางจำหน่าย ความนิยมในการใช้ scooter จึงลดน้อยลงผู้ครองตลาดการจำหน่าย scooter ในช่วงปี 1950 คือ บริษัทของอิตาลี 2 แห่งคือ piaggio และ innocenti ซึ่งเป็นผู้ผลิต vespa และ lambretta ทำให้เป็นที่อิจฉาของ ผู้ประกอบการรายอื่นทั่วโลก ในขนะที่ยอดจำหน่ายสูงสุดของ scooter จะมีอายุเพียงสองทศวรรษเท่านั้น แต่โดยภาพรวมแล้ว scooter กลับมีอายุยืนนานถึงกว่า80ปี ข้อเขียนนี้เป็นการบรรยายสรุปการผลิต scooter เริ่มตั้งแต่ช่วงปี1900 และปิดท้ายด้วยการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของ scooter จุดกำเนิด scooter (scooter origins) พื้นฐานที่สำคัญของ scooter ต่อสาธารณะก็คือการเป็นยานยนต์ส่วนตัวที่มีราคา ประหยัดจากผลของสงครามโลกทั้งสองครั้ง ผลในทางบวกที่เกิดขึ้นก็คือการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทวิศวกรรมทางการทหารมีการขยายตัวอย่างมาก และเมื่อสงครามสงบ จึงเกิดบริษัทวิศวกรรมหลายๆแห่งที่ไม่ต้องทำการผลิตเพื่อกองทัพอีกต่อไป ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงหันมามองตลาดยานพาหนะส่วนบุคคลแทน หลายๆบริษัทได้หันมาพัฒนาประดิษฐ์กรรมที่ต่อมาเรียกขานกันว่า scooter scooter รุ่นแรกๆนั้น ไม่มีการจำหน่ายในปริมาณมาก สาเหตุอาจเป็นเพราะไม่ได้สนองตอบต่อความต้องการในการเดินทางของผู้คนภายหลัง สงคราม และก็เพียงเพื่อต้องการให้มีความแตกต่างกับมอเตอร์ไซด์ในยุคนั้นเท่านั้น scooter ในยุคแรกได้รับความนิยมพอสมควร แต่ก็ต้องปิดตัวเองไปในช่วงกลางทศวรรษ 1920
นกระทั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เริ่มทำการผลิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองทางการทหาร บริษัทผู้ผลิตในอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน และอเมริกา ได้ทำการผลิต scooter แบบธรรมดาๆเพื่อใช้ขนย้ายกองทหารพลร่มและทหารราบ ในอังกฤษมีการผลิตแบบ Welbike ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ในอเมริกามีการผลิตแบบ Cushman ฝ่ายเยอรมันก็มี TWN ส่วนอิตาลีก็ทำการผลิตแบบ Volugrafo ซึ่งมีล้อหลังคู่ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ผู้คนเริ่มหันมาต้องการใช้ยานยนต์กันอีก บริษัทผู้ผลิตซึ่งต้องทำงานอย่างหนักในช่วงสงครามจึงมีศักยภาพพอที่จะทำการ ผลิตได้ ผลที่ตามมาก็คือเกิดการประดิษฐ์ scooter รุ่นที่สอง ในอิตาลี บริษัท Piaggio ซึ่งบริษัทผู้สร้างเครื่องบินในสมัยนั้นถูกห้ามทำการผลิตในปี 1945 ดังนั้นทางบริษัทตึงหันมาผลิต scooter ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมารถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของVespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ1990 scooter รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ Innoncenti แห่งมิลาน ได้ทำการเปิดตัวสินค้าด้วย Lambretta M (ต่อมาใช้ชื่อใหม่เป็น Model A)ออกมาในปี 1947 Lambretta ผลิตโดยใช้ตัวถังแบบเปิด(openframe)ทรงหลอด และไม่มีระบบป้องกันสภาพอากาศที่ดีนอกจากนั้นก็ไม่มีระบบกันกระเทือนอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องอาศัยยางในล้อช่วยลดการกระแทก หลังจากนั้นไม่นานLambretta จึงทำการผลิตรุ่น B ออกมาแทน จากจุดนี้เอง ทั้ง Lambretta และ Vespa จึงได้ทำการแข่งขันกันอย่างหนัก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในการตลาด อย่างไรก็ตาม Lambretta ยังยึดรูปแบบทรงหลอดอยู่ แต่ในบางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบขับเคลื่อนด้วยเพลาไปใช้ระบบโซ่ หรือบางทีก็สลับกัน ส่วนทางด้าน Vespa นั้นก็ยังยึดระบบตัวถังแบบเหล็กชิ้นเดียวครอบตัวเครื่อง และติดตั้งระบบเกียร์ไว้ใกล้ๆกับล้อหลัง


การแข่งขันของทั้งสองบริษัทนี้เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆแม้กระทั่งในปัจจุบัน ผู้ใช้ scooter ก็ยังแบ่งเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน ต้นทศวรรษ 1950 ทั้ง Vespa และ Lambretta สามารถสร้างยอดจำหน่ายได้มากชนิดที่วงการรถสองล้อไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ผูผลิตรถจักรยานยนต์ และยานยนต์ชนิดต่างๆ เกิดการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นผู้ผลิตบางรายจะเน้น ที่รูปแบบและเครื่องยนต์ สำหรับบางรายยกเครื่อง scooter ใหม่หมด โดยการเปลี่ยนยานยนต์แบบประหยัด ให้กลายมาเป็นยานยนต์แบบเริดหรูและก้าวไกล ตลาดในขณะนั้นไม่สามารถรองรับความหลากหลายของสินค้าได้ทั้งหมด ทำให้สินค้าบางตัวมีอายุสั้นมาก แม้จะเป็นสินค้าชั้นยอดก็ตาม สินค้าชั้นดีหลายๆชนิดไม่ประสบผลสำเร็จทางธุระกิจเลย จุดตกต่ำของ scooter เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อผูบริโภคหันหลังไปนิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูก เช่น Fait 500 และ Fait Mini เป็นต้น ทั้งนี้เพราะป้องกันฝน และอากาศหนาวได้ดีกว่า ส่วนผู้ซื้อ scooter จะมีก็เพียงสมาชิกชมรมต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในทศวรรษ 1990 scooter ของยุโรปยังมีหลงเหลือให้เห็นได้พอสมควร ทว่าในปัจจุบันผู้ผลิตของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี กำลังทำการผลิต scooter รุ่นที่สามออกมา โดยมีรูปทรงและภาพพจน์ที่สะดวกสบายต่อการขนส่ง มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเสริมสีสรรที่โฉบเฉี่ยวเพื่อดึงดูดลูกค้าวัย รุ่นฐานะปานกลาง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าอนาคตของ scooter จะเป็นอย่างไรต่อไป

 





ตำนานของรถโบราณ-รถคลาสสิค

รถโบราณและรถคลาสสิค ผมเริ่มต้นไม่นานเมื่อมีโอกาสเริ่มสะสม ชอบ รัก ก็นำมาเล่าสู่กันดู



ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนต์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย



ประวัติ รถโบราณโฟล์คเต่า


รถโบราณโฟล์คเต่า มีขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-REICHSVERBAND DER DEUTSCHEN AUTOMOBILINDUSTRIE ได้มอบหมายให้ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ชออกแบบรถยนต์ของประชาชน (PEOPLE’S CAR) ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกว่า VOLKSWAGEN นั่นเอง
โฟล์คเต่ารุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบกลไกก้านบังคับ ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ปัจจุบัน และที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดยางแท่นเครื่อง ตัวเครื่องยนต์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ที่มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)
ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 (ซึ่งมีการผลิตออกมา 3 คัน) ถูกนำมาทดสอบด้วยการแล่นเป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการ VVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นานก็มาลงตัวที่บล็อก 4 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะได้รับการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียง 55 คันเท่านั้น
ในปี 1947 จึงมีการผลิตเวอร์ชั่นส่งออกในเดือนสิงหาคม โดยบริษัท PON BROTHERS กลายเป็นผู้แทนจำหน่ายของโฟล์คสวาเกนในเนเธอร์แลนด์และนำเข้าโฟล์คเต่าจำนวน 56 คัน เข้าไปทำตลาด จากนั้นอีก 1 ปี จึงเริ่มขยายตัวออกสู่ตลาดประเทศอื่น เช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ม สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 มกราคม 1949
รุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่าคลาสสิคมีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 โดยคาร์มานน์เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา
ความจริงแล้วโครงการผลิตรุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีมาตั้งแต่ปี 1948 ในยุคที่มีไฮน์ริช นอร์ดฮอฟฟ์เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานโฟล์คสวาเกน ซึ่งเขาเป็นผู้ปรับปรุงระบบการผลิต และเป็นคนที่เอ่ยประโยคอมตะ “THE BEETLE HAS AS MANY FAULT AS A DOG HAS FLEAS” ที่แสดงให้เห็นถึงรอยรั่วของระบบการผลิต ซึ่งมีมากเหมือนกับหมัด-เห็บบนตัวสุนัข
นอร์ดฮอฟฟ์ใช้เวลานานในการคิดหาทางออกเพื่อกระตุ้นให้ยอดจำหน่ายของโฟล์คเต่ามีมากขึ้นและในปี 1948 เขาได้ว่าจ้าง JOSEPH HEBMULLER COMPANY ผลิตรุ่นต้นแบบของโฟล์คเต่าเปิดประทุนออกมา 3 คัน โดยมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนของรุ่นแฮทช์แบ็ก (หรือในเอกสารของโฟล์คสวาเกนเรียกว่า SEDAN) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
JOSEPH HEBMELLER ได้รับโอกาสในการผลิตโฟล์คเต่าเปิดประทุนในเวอร์ชั่นหรูพร้อมกับตกแต่งรายละเอียดภายในอย่างสุดบรรเจิด ซึ่งสวนกับหลักการพื้นฐานของตัวรถ ขณะที่คาร์มานได้รับงานผลิตแบบยกล็อตสำหรับคนทั่วไป ผลที่ได้คือตลอด 4 ปี ที่ทำตลาด เวอร์ชั่นเปิดประทุนของ JOSEPH HEBMULLER ผลิตขายได้เพียง 696 คัน เท่านั้น
โฟล์คเต่ากลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ รถขายดีเหมือนแจกฟรี ในปี 1950 ทำยอดผลิตครบ 100,000 คัน และเพิ่มเป็น 250,000 คัน ในปี 1951 ซึ่งเป็นตัวเลขของยอดการผลิตพุ่งพรวดสวนทางกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาด จนทำให้ต้องหยุดการผลิต และลดชั่วโมงทำงานลงชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นในปี 1952 ยอดผลิตต่อปีของโฟล์คเต่าก็เกิน 100,000 คันเป็นครั้งแรก และในปี 1953 ก็ฉลองครบ 5 แสน คัน โดยที่ในช่วงเวลานั้น โฟล์คเต่าครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งของเยอรมันตะวันตกใน(ตอนนั้น) ถึง 42.5%
ในปี 1955 ตัวเลขการผลิตครบ 1ล้านคัน และในปี 1967 ฉลองการผลิตครบ 10 ล้านคัน โดยมีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่งในเยอรมนี คือ เมืองฮันโนเวอร์ คาสเซล บรันสวิค เอมเดน และล่าสุดคือโวล์ฟบวร์ก

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1972 เป็นวันที่ปวงชนชาวโฟล์คสวาเกนไม่มีวันลืม เพราะยอดการผลิตของโฟล์คเต่าอยู่ที่ 15,007,034 คัน ซึ่งเท่ากับว่าสามารถแซงหน้า สถิติเดิมของ ฟอร์ด โมเดล ทีได้สำเร็จ ทำให้โฟล์คเต่ากลายเป็นรถยนต์ที่มียอดผลิตสูงสุดในโลก (ก่อนที่จะโดนรุ่นกอล์ฟแซงในปี 2002)
จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจกับผู้มาใหม่รุ่นนี้กันมากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจยุติการผลิตของโรงงานโวล์ฟบวร์ก ในปี 1974 และเอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เมืองโวล์ฟบวร์ก
ส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายออกจากสายการผลิตของโรงงานคาร์มานน์ในออสนาบรักเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 รวมแล้วรุ่นเปิดประทุนถูกผลิตออกสู่ตลาด 330,281 คัน
แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้
อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่บีทเทิลมาเนียต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิตโฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง PUEBLA เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่
แต่ก่อนที่จะจากกันโฟล์คสวาเกนก็ผลิตเวอร์ชันพิเศษออกมาเรียกเงินในกระเป๋าลูกค้าด้วยเวอร์ชันULTIMA EDICION กับสีตัวถัง 2 แบบ คือ เบจและฟ้า ด้วยจำนวนการผลิตจำกัดเพียง 3,000 คัน เท่านั้น

สมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย จัด “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 36” ชวนสัมผัสสุยอดยนตรกรรมจากวันวาน “เอมจี ทีบี” 1 ใน 300 คันของโลก
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ นายกสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “งานประกวดรถโบราณครั้งที่ 36” ในปีนี้ผู้ชมจะพบกับรถโบราณและรถคลาสสิคกว่า 100 คัน หนึ่งในนั้น คือ “เอมจี วีเอ” (MG VA) ปี 1937 รถสปอร์ตสุดเร็วและแรงยุคนั้น รวมทั้งรถที่หาชมได้ยากยิ่ง เอมจี ทีบี (MG TB) รถรุ่นที่ 2 ในอนุกรม “T” เปิดตัวในเดือนพฤษภาคมปี 1939 เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 1,250 ซีซี 54 แรงม้า ซึ่งนำมาจาก มอร์ริส 10 (MORRIS 10) ที่รู้จักกันในชื่อ XPAG ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 127 กม./ชม.ผลิตเพียง 379 คันเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมี รถมากมายหลายยี่ห้อ อาทิ รถโบราณ PEUGEOT รุ่นปี 1916, รถหลังสงคราม ARMSTRONG SIDDELEY HURRICANE ปี1949 และรถคลาสสิค BENTLEY MULSANNE TURBO ปี 1982 ที่นำมาจัดแสดงให้ผู้หลงใหลในเสน่ห์รถเหล่านี้ได้ยลโฉมอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 36” เปิดให้เข้าชมฟรี ณ Alive Park Hall ชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค ระหว่างวันที่ 20 - 24 มิถุนายน 2555



ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือว่าเป็นยุคแรกที่ใช้รถยนต์กันอย่างแพร่หลายตามท้องถนนเมืองไทยเคียงคู่ไปกับรถลาก รถม้า โดยมีชาวต่างชาติเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย แต่พอมาสมัยรัชกาลที่ 7 รถถูกส่งกลับไปต่างประเทศหมด อย่างเช่น เดอลาเฮย์ (DELAHAYE) ,อวีอองส์ (AVISIN ), วัวแซง (VOISIN ) เมืองไทยนิยมใช้กันมาก แต่หลังจากนั้นจอดทิ้งไว้ก็ไม่มีใครอยากได้

แต่ด้วยใจรักของคนกลุ่มหนึ่งที่เห็นคุณค่าของรถโบราณ จึงเสาะแสวงหาซากรถเก่ามาบูรณะใหม่ โดยควักเงินจากกระเป๋าของตนเอง เพื่อจะชุบชีวิตให้รถคันนั้นกลับมามีสภาพเหมือนเดิม ทั้งนี้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเห็นและสัมผัสคันจริง ๆ ไม่ใช่เห็นแต่รูปถ่ายในนิตยสาร นอกเหนือจากความชอบส่วนตัว

พร้อมกันกลุ่มคนเหล่านี้ได้จัดตั้งสมาคมรถโบราณขึ้นมา ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของรถโบราณอยู่แล้ว ตลอดจนผู้ที่นิยมชมชอบแต่ยังมิได้เป็นเจ้าของเกิดความตระหนักในคุณค่าทางประวัติศาสาตร์ของรถโบราณ และกระตือรือร้นที่จะบำรุงรักษารถยนต์อย่างถูกวิธี

"สมาคมรถโบราณก่อตั้งมาประมาณ 35 ปี สมัยก่อนเป็นแค่ชมรม และเมื่อ 6 ปีที่แล้วได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกจึงทำให้คณะกรรมการเสียชีวิตไป 2 คน สมาชิกที่เหลือจึงให้ผมทำหน้าที่รักษาการนายกสมาคมไปพลางๆ ก่อน ซึ่งตอนนั้นยังใช้ชื่อสมาคมว่า "ชมรมรถโบราณลุฟท์ฮันซ่า-คาสตรอล" และเพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสมาคมโดยการจดทะเบียนเมื่อปีที่ผ่านมา โดยนายกคนแรกก็คือ พ.ต.อ. แสวง จิรานุวัฒน์ และหลังจากนั้นมีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการและ ผมได้มีโอกาสรับเลือกเป็นนายก" ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ นายกสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย

ดังนั้นรถโบราณที่ว่าหาดูยาก คงไม่ยากอีกต่อไป ที่สำคัญเราได้มีโอกาสชม สัมผัส อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย ได้จัดการประกวดรถโบราณขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ก็เช่นกัน โดยงานจะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ และจัดเป็นครั้งที่ 28 แล้ว
ประวัติ
รถยนต์รุ่นแรกของโลก
รถยนต์สมัยใหม่
ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ยานพาหนะของผู้คนในสมัยนั้น ยังคงอาศัยแรงของสัตว์ เช่น รถม้า หลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้แรงดันไอน้ำมาขับเคลื่อนเป็นยานพาหนะแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงของสัตว์
ในปี ค.ศ. 1886 คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพลิงเผาไหม้คันแรกของโลกได้สำเร็จ (Benz Patent Motorwagen) โดยใช้โครงสร้างแบบลูกสูบเหมือนของเครื่องจักรไอน้ำ เพียงแต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ และเพิ่มวาล์วไอดีไอเสีย ในรูปแบบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (ปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน)
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในยุคแรกๆ นั้น ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ต่อมา ปี 1897 รูดอล์ฟ ดีเซล พยายามคิดค้นพลังงานอื่นมาใช้กับเครื่องยนต์ จนสำเร็จเป็นเครื่องยนต์ดีเซล [ต้องการอ้างอิง]
ประเทศไทยเริ่มมีรถยนต์ใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยชาวต่างชาติเป็นคนนำเข้ามาภายในประเทศซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
เหตุผลของการสะสมรถโบราณสำหรับผู้ชื่นชมความคลาสสิก อาจมีจุดกำเนิดหรือประวัติที่แตกต่างกันออกไป บ้างเพื่อตอบสนองความชอบส่วนตัว บ้างเล่นตามกระแสสังคม หรือบ้างอาจเป็นงานอดิเรกของคนรวย

แต่สำหรับ “สยาม เศรษฐบุตร” หนุ่มใหญ่ผู้สืบทอดสายเลือดอนุรักษ์นิยมมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ (อักษร เศรษฐบุตร) แถมพ่วงท้ายด้วยตำแหน่ง “ประธานบริหาร เมอร์เซเดส-เบนซ์ คลับ ประเทศไทย” ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากเจ้าของแบรนด์เมืองเบียร์ จะมีความเป็นมาและแรงแรงบันดาลใจสู่การเป็นเจ้าของรถคลาสสิกเกือบ 50 คันในปัจจุบันได้อย่างไร “ASTVผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง” เชิญร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน...
สยาม เศรษฐบุตร เคียงข้างรถคลาสสิกคู่ใจ
เริ่มต้นความคลาสสิก

จากเด็กที่วิ่งเล่นซุกซนอยู่ในโรงเก็บรถโบราณของคุณพ่อ ด้วยความคุ้นชินที่เห็นอยู่เป็นประจำทุกวันจนเกิดการซึมซับ และเมื่อวันหนึ่งรถคันโปรดถูกส่งต่อเป็นของขวัญจากพ่อสู่ลูก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอันแรงกล้า

“เมื่อผมไปเรียนที่อเมริกาได้เห็นรถคลาสสิกตามงานคาร์โชว์ เราจำได้ว่าคันนี้บ้านเราก็มี แต่ขณะนั้นยังไม่ได้สนใจจริงจัง เพราะยังไม่มีความรู้มากมาย แต่มีความตั้งใจว่าถ้ากลับมาบ้าน จะนำมาบูรณะให้เหมือนใหม่ทั้งหมดเลย”

บอกเล่าความประทับใจ

“หลังจากนั้นจึงเริ่มต้นปรับปรุงซ่อมแซมรถที่บ้านเรื่อยมา ให้คงสภาพเดิมและสมบูรณ์มากที่สุด และมีบ้างที่ซื้อเข้ามาเพิ่ม จนปัจจุบันมีรถคลาสสิกที่ครอบครองอยู่รวมทั้งหมดเกือบ 50 คัน ส่วนหากถามว่าชอบคันไหนเป็นพิเศษ มีทั้งหมด 3 คัน คันแรกที่ผมใช้บ่อยมาก เมอร์เซเดส-เบนซ์ 190 SL เป็นรถสปอร์ต 2 ประตู Grand touring convertible ที่มีหลังคาแข็งแบบถอดออกได้ ด้วยขนาดเครื่องยนต์ 1.9 ลิตร มีความคล่องตัว หากวันไหนรู้สึกอยากขับรถกินลมชมวิว คันนี้จะนึกถึงเป็นอันดับแรก
Chevrolet Corvette Sting Ray 1963 Split window ของขวัญจากคุณพ่อ
“คันต่อมา Chevrolet Corvette Sting Ray 1963 Split window รุ่นที่ทำพิเศษคือจอหลังแบ่งเป็นปีเดียวคือปี 1963 หลังจากนั้นปี 1964 ถึง 1967 จอหลังจะเป็นกระจกชิ้นเดียว ส่วนตัวถังรถเป็นไฟเบอร์กลาสน้ำหนักเบา เครื่องยนต์ 250 แรงม้า เกียร์ออโต้ ใช้ระบบดิสก์เบรก ซึ่งในสมัยนั้นรถคันนี้ถือว่าไฮเทคมาก และที่สำคัญเป็นมรดกของคุณพ่อด้วยครับ”

“ส่วนคันสุดท้าย Chevrolet Corvette Sting Ray 1964 เพราะกว่าที่จะเห็นเป็นรถเปิดประทุนสีแดงคันงามขนาดนี้ ต้องใช้เวลาร่วมปีในการชุบชีวิตจากซากรถที่ปล่อยทิ้งไว้ในจังหวัดพิษณุโลก เจ้าของเป็นทหารจีไอที่เกษียณแล้ว โดยสภาพตอนแรกทุกอย่างถูกถอดเป็นชิ้นๆ และขาดต่อทะเบียนมา 13 ปี แม้ว่าต้องจ่ายเงินหลายแสนให้กับค่าตัวรถรวมถึงค่าต่อทะเบียนอีกแสนกว่าบาท แต่ผมก็พอใจและเชื่อมั่นว่ารถคันนี้เมื่อทำเสร็จแล้วจะต้องเป็นรถที่เจ๋งที่สุด”

ประธานชมรมเมอร์เซเดส-เบนซ์ คลับ

“สำหรับคลับนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัทแม่ที่เยอรมัน ซึ่งเขาพิจารณาว่าเรามีเบนซ์คลาสสิกครอบครองอยู่หลายคัน เห็นว่ารักรถจริงจังตั้งแต่สมัยคุณพ่อ และมีความความเชี่ยวชาญในเรื่องของประวัติรถ รวมถึงการชอบจัดกิจกรรมต่างๆ โดยบริษัทแม่จะช่วยสนับสนุนอะไหล่ที่หายาก หากสมาชิกคนไหนหาไม่ได้ เราก็ช่วยประสานงานให้ แต่จุดประสงค์หลักของคลับคือการ รวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคม และกระชับมิตรระหว่างคนรักรถ ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกประมาณ 250 คน”
Chevrolet Corvette Sting Ray 1964 ได้รับการชุบชีวิตขึ้นมาใหม่
รูปแบบการช่วยเหลือสังคม

“ส่วนใหญ่ผ่านออกทริปต่างๆ และล่าสุดเราได้จำทำหนังสือ “THAILAND’S ULTIMATE CLASSIC CARS” เป็นหนังสือรวบรวมรถคลาสสิกที่หายากในประเทศไทย 25 คัน มีเนื้อหาแสดงให้เห็นในทุกแง่มุม โดยเฉพาะด้านรายละเอียดของรถและความพิเศษของรถแต่ละคัน และส่วนสำคัญที่สุดคือได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บันทึกรูปรถยนต์แข่งยี่ห้อ ERA - ENGLISH RACING AUTOMOBILES ชื่อ “หนุมาน II” ซึ่งเคยเป็นรถยนต์แข่งของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช (พ.พีระ) โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดจำหน่ายหนังสือจะนำไปซื้อรถเข็น ให้กับเด็กพิการ จำนวน 84 คัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล”

รถเก่าเน้นประวัติมากกว่ามูลค่า

“จริงๆ แล้วรถคลาสสิกไม่จำเป็นต้องแพงหรือมียี่ห้อ ลองดูรถรุ่นคุณพ่อที่เคยใช้งาน จอดทิ้งไว้อยู่บ้าน ลองเอามาปรับปรุงซ่อมแซม ดูแลให้ดี ผมว่ามันก็เป็นรถคลาสสิกของคนนั้นได้ แถมยังมีเรื่องราวประวัติที่เกี่ยวข้องกับตัวเองด้วย ส่วนสไตล์การสะสมของผมไม่หวือหวาแต่เน้นที่ประวัติมากกว่ามูลค่า และเน้นรถที่ใช้งานได้ ซึ่งส่วนนี้ผมโชคดีที่มีอู่ซ่อมบำรุงอยู่ในบริเวณบ้านเพราะทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อ”
เมอร์เซเดส-เบนซ์ 190 SL รถสปอร์ตคูเป้คันโปรด
เสน่ห์คุณค่าทางจิตใจ

“ในหัวใจของนักสะสมรถโบราณนั้นเรียกได้ว่าไม่มีรถคันไหนที่เป็นสุดยอดของนักสะสม เพราะคุณค่ามันอยู่ที่คนชอบมากกว่า บางคนอาจจะคิดว่าถ้ารถเก่ามากจะมีคุณค่ามาก หรือราคาแพงมากต้องสวยมาก แต่ไม่อาจตัดสินได้ เนื่องจากรถเหล่านี้มีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าราคา รวมถึงประวัติของรถแต่ละคัน ลองคิดดูว่ากว่าการที่เราจะทำให้เขากลับมามีชีวิตได้อีกครั้งหนึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย”

จากความสนใจสืบทอดรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นความรักและการอนุรักษ์รถโบราณกว่า 20 ปีในชีวิตนักสะสมของ สยาม เศรษฐบุตร พิสูจน์แล้วว่ารถคลาสสิกเหล่านี้มีคุณค่าเหนือการเวลาจริงๆ...

เฟอร์รารี่ เป็นบริษัทผลิตรถ จากมาราเนลโล ประเทศอิตาลีก่อตั้งในปี 1929 โดย นาย เอ็นโซ เฟอร์รารี่เป็นผู้ก่อตั้ง และได้มาก่อตั้งใหม่ในปี 1947 เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตชื่อดัง ที่มีจำหน่ายทั่วโลก โดยคู่แข่งทางการค้าคงหนีไม่พ้น ค่าย กระทิงดุ ลัมโบร์กีนีซึ่งรถสัญชาติเดียวกัน เฟอร์รารี่เป็นผู้ได้รับการบันทึกไว้สำหรับการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในความสำเร็จกับรถสูตรหนึ่งโดยสปอนเซอร์รายใหญ่ของเฟอร์รารี่ คือ บริษัทน้ำมันรายใหญ่ชื่อ เซลล์ รถเฟอร์รารี่มีฉายาที่คนไทยรู้จักกันดีว่า ม้าลำพอง
สำหรับรุ่นต่างๆ ของเฟอรร์รารี่ ได้แก่ แคลิฟอเนีย , 458 อิตาเลีย , เอฟ 12 เบริเนตต้า , เอฟเอฟ , เอ็นโซ , เอ็ฟ 430 เป็นต้น
อัลฟาโรเมโอ (Alfa Romeo) เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของประเทศอิตาลี อัลฟาโรเมโอ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1910 ที่เมือง มิลาน โดยนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ชื่อ อเล็กซองดร์ ดารรัคค์ ร่วมกับกลุ่มนักอุตสาหกรรมชาวลอมบาร์ดี โดยแรกเริ่มใช้ชื่อเพียงแค่ อัลฟา มิลาโน (Alfa - Milano) เท่านั้น ชื่อ a.l.f.a. ย่อมาจาก Anonima Lombarda Fabbrica Automobili แปลว่าโรงงานผลิตรถยนต์นิรนามแห่งแคว้นลอมบาร์ดี ส่วนคำว่า โรเมโอ (Romeo) ถูกเติมเข้ามาเมื่อ นิโคล่า โรเมโอ เข้ามาซื้อกิจการของ อัลฟ่า และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น อัลฟ่าโรเมโอ มิลาโน (Alfa Romeo - Milano) ในปี ค.ศ. 1915 ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 เมื่ออัลฟาฯ เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ที่เมือง นาโปลี (Napoli) หรือ เนเปิลส์ จึงเปลี่ยนชื่อเหลือเป็น อัลฟาโรเมโอ (Alfa Romeo) เท่านั้น โดยตัดคำว่า มิลาโน (Milano) ทิ้งไป
ตำนานของรถโบราณ-รถคลาสสิค
รถโบราณและรถคลาสสิค ผมเริ่มต้นไม่นานเมื่อมีโอกาสเริ่มสะสม ชอบ รัก ก็นำมาเล่าสู่กันดู
ลองดูนักเรียนใหม่ถอดด้ามรายงานเลยเลยครับ เมื่อต้นปี2552 ผมมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวประชุมเลยเก็บภาพสวยๆแถบยุโรปตะวันออก ออสเตรีย เช็ก ฮังการี ผมได้สัมผัสเมืองที่ทันสมัยและเมืองเก่าที่ประชาชนช่วยกันดูแลและอนุรักษ์เมืองเก่า ทำให้คิดถึง ตัวเราเองในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่ง เคยดูแลบ้านเมืองของเราไหม? ดูแลทรัพย์สินสิ่งของที่ห่วงแหนของประเทศเราไหม? และที่นั่นทำให้ผมพบ ความจริงว่า การอนุรักษ์สิ่งที่มีค่าที่สุดอะไรก็ได้ที่เราชอบไม่ชอบก็ได้ช่วยกันแล้วอะไรที่ท่านประทับใจนอกจากความสวยงามของบ้านเมืองของเขาแล้ว ผมก็มาประทับใจกับรถโบราณที่ยังคงมีใช้ในยุโรปตะวันออก ปะปนกับรถที่ทันสมัยมากๆเช่นBENZ-BMWรุ่นล่าสุด ผมจึงเก็บภาพสวยๆมาฝากพร้อมกับการเดินตามหาเรื่องจริงเกี่ยวกับรถโบราณรถคลาสิคในประเทศไทยมาฝากแฟนๆคลับครับ จุดเริ่มต้นเราต้องอ่านประวัติศาสตร์ให้ลึกซึ่งเสียก่อน


ประวัติรถยนต์ไทย

ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ที่แล้ว รถยนต์คันแรกเข้ามาวิ่งในแผ่นดินสยามถือเป็นสิ่งแปลกใหม่บนท้องถนน คนยุคนั่นคงนึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นพาหนะสำคัญ จนเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในยุคปัจจุบัน
ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนต์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย

การกำเนิดรถยนต์ในประเทศไทยและการที่พระราชวงศ์ไทยสนพระทัยในเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่อุบัติขึ้นแทบ จะเป็นเวลาเดียวกันกับช่วงเปลี่ยนศตวรรษเมื่อเริ่มมีการผลิตรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ รถยนต์คันแรกขึ้นบกที่ท่าเรืออู่บางกอก และมีการขับไปตามท้องถนนท่ามกลางสายตาของประชาชนที่เฝ้ามองอย่างพิศวง รถยนต์สมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรถยี่ห้อใด คันเกียร์และคันห้ามล้อ ติดตั้งอยู่นอกตัวถังด้านขวามือของผู้ขับ รถยนต์อันเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อใดยังเป็นข้อถกเถียงไม่สิ้นสุด แต่เชื่อกันว่าเป็นชาวต่างชาติเป็นผู้สั่งเข้ามาเป็นคนแรก รถคันนี้มีลักษณะคล้ายกับรถบดถนนในปัจจุบัน มีล้อเป็นยางตัน หลังคาคล้ายปะรำ ที่นั่ง 2 แถว ใช้น้ำมันปิโตเลียมเป็นเชื้อเพลิงและรถมีกำลังเพียงวิ่งตามพื้นราบ ไต่ขึ้นเนินสะพานไม่ได้ การใช้งานของรถคันแรกจึงมีขีดจำกัดเพราะท้องถนนเมืองบางกอกเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองสูง เพื่อให้เรือลอดผ่านได้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของรถยนต์ยุคนั้น

รถยนต์คันแรกสามารถปลุกเร้าความสนใจของคนไทยและคนต่างชาติได้เป็นอย่างดี ต่อมาไม่นานเจ้าของรถคันดังกล่าวก็ขายต่อให้จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ถือเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นเจ้าของรถยนต์ ท่านจอมพลฯ ซื้อรถยนต์มาทั้งที่ขับไม่เป็นจึงต้องให้ท่านพระยาอนุทูตวาที (เข็ม แสงชูโต) น้องชายเป็นผู้ขับแทน เชื่อกันว่าพระยาอนุทูตวาทีเป็นคนไทยคนแรกที่ขับรถยนต์ได้ เนื่องจากเคยทำงานที่ประเทศอังกฤษจึงมีโอกาสได้ขับรถยนต์ ต่อมาก็สอนคนอื่นเรียนรู้การขับรถยนต์อย่างแพร่หลาย หลังการซื้อรถมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้มีโอกาสขับโลดแล่นไปตามท้องถนนเมืองบางกอกอยู่หลายปีก่อนที่รถคันแรกจะเสื่อมสูญไปตามกาล ยุคนั้นผู้ที่สั่งรถเข้ามาจะเป็นพระราชวงศ์เป็นส่วนใหญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 2411 พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก และพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติยานยนต์ของไทย ปี 2447 มีรถยนต์ 3 คันเข้ามาวิ่งในถนนบางกอก แต่ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นรถยนต์ยี่ห้ออะไรและใครเป็นเจ้าของ

ปีนั้นเองรัฐบาลเห็นความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีใหม่ไม่น้อย โดยได้สั่งซื้อรถแวนแล่นได้เร็วถึง 10 ไมล์ต่อชั่วโมงเพื่อใช้ในการขนส่งทองแท่งเงินแท่งและเหรียญกษาปณ์หนักหนึ่งตัน ในพ.ศ. เดียวกันนั้น ขณะที่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงประชวรและเสด็จรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ได้ทรงซื้อรถยนต์เดมเลอร์-เบนซ์หนึ่งคันซึ่งถือว่าเป็นรถที่ดีที่สุดในยุคนั้น เมื่อทรงเสด็จกลับแผ่นดินสยาม พระองค์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายรถคันดังกล่าวแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทย และผู้ที่ทำหน้าที่สารถีก็คือกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์นั่นเอง รถยนต์หลวงคันที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเมอเซเดส-เบ็นซ์ ปี 2448 ได้รับพระราชทานนามว่า "แก้วจักรพรรดิ" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานรถยนต์พระที่นั่งมากเพราะมีความสะดวกสบายและเดินทางได้เร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจจะเสด็จไปที่ต่างๆ ด้วยรถยนต์พระที่นั่งคันดังกล่าวเสมอ ต่อมาทรงเล็งเห็นว่ารถคันเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีกหนึ่งคัน เสด็จในกรมฯกรมหลวงราชบุรีฯ เป็นผู้แทนพระองค์ในการสั่งซื้อและทรงเลือกรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งเป็นรถนำเข้าโดยตรงจากประเทศเยอรมนี รุ่นปี 2448 เครื่องยนต์สี่ลูกสูบขนาด 28 แรงม้า วิ่งเร็ว 73 กม.ต่อชั่วโมง นับว่าเร็วมากในยุคนั้น

รถพระที่นั่งคันนั้นเกือบเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เมื่อมาถึงคณะกรรมการตรวจรับช่วยกันเติมน้ำมันเบนซินใส่ถัง โดยไม่มีใครสังเกตเห็นละอองน้ำมันลอยฟุ้งไปถึงตะเกียงรั้วซึ่งแขกยามแขวนไว้ในโรงม้าที่อยู่ใกล้ ๆ กว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อน้ำมันเบนซินในปี๊บลุกเป็นไฟอย่างฉับพลัน ต้องช่วยกันใช้ฟ่อนหญ้าสำหรับม้ากินฟาดดับไฟ แขกโรงม้าต้องวิ่งไปเอาถังน้ำมาช่วยดับอีกแรง ทุกคนต้องอกสั่นขวัญแขวนเมื่อตรวจพบว่าเปลวไฟลวกสีรถเกรียมไปแถบหนึ่ง บานประตูใช้ไม่ได้อีกข้างหนึ่ง ผู้รับผิดชอบที่นำข่าวร้ายไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีฯ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สวนอัมพร ทรงนิ่งอึ้งชั่วครู่ ก่อนที่รับสั่งให้ซ่อมแซมความเสียหาย 2-3 สัปดาห์ต่อมารถซ่อมเสร็จ คณะกรรมการจึงนำรถมาถวายให้ทอดพระเนตรพระองค์ขึ้นประทับและทรงลองขับดูชั่วครู่ทรงรู้สึกว่าต้องพระราชหฤทัย ความนิยมในการใช้รถยนต์แพร่หลายในหมู่พระราชวงศ์และคหบดีในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่า สมควรจัดงานเฉลิมฉลองสักครั้งหนึ่ง ดังนั้นปลายฤดูฝน วันที่ 7 ตุลาคม ปี 2448 จึงมีพระบรมราชโองการให้มีการชุมนุมพบปะกันของรถยนต์ครั้งแรกในเมืองบางกอก

ปรากฏว่ามอเตอร์โชว์ครั้งแรกของสยามมีรถยนต์ไปชุมนุมในบริเวณพระบรมมหาราชวังทั้งสิ้น 30 คัน พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าของรถทุกคน ครั้นเวลาบ่ายสี่โมงเย็นจึงเคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสามเสนและเลี้ยวเข้าสู่สวนดุสิตสองข้างทางมีผู้คนยืนเรียงรายชมขบวนด้วยความตื่นตาตื่นใจ ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 56 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี 2451 ทรงสั่งรถยนต์เข้ามาเป็นของขวัญพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นสูงเพื่อใช้ในราชการแผ่นดิน ทรงสั่งรถยนต์จำนวน 10 คันจากฝรั่งเศสเช่นเคยและทรงพระราชทานนามแก่รถยนต์แต่ละคันเช่นเดียวกับพระราชทานนามแก่รถยนต์แต่ละคันเช่นเดียวกับพระราชทานนามช้างเผือก เพื่อแสดงถึงฐานะและความมั่งคั่ง เวลาข้าราชบริพารพูดถึงรถจึงไม่เรียกชื่อรุ่นหรือยี่ห้อ แต่จะเรียกชื่อพระราชทานเป็นเรื่องสับสนสำหรับชาวต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาไทยว่าหมายถึงรถคันไหน ตัวอย่างนามพระราชทานเช่น แก้วจักรพรรดิ, มณีรัตนา, ทัดมารุต, ไอยราพต, กังหัน, ราชอนุยันต์, สละสลวย, กระสวยทอง, ลำพองทัพ, พรายพยนต์, กลกำบังและสุวรรณมุขี เป็นต้น


<<++400 กว่าคันทั่วประเทศครั้งแรกของกฎหมายรถยนต์++>>

เมื่อมีการใช้รถอย่างแพร่หลาย ถนนเมืองบางกอกเริ่มมีการประลองความเร็วกันจนฝุ่นตลบสร้างความเดือดร้อนให้คนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมากอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อุบัติเหตุถึงชีวิตเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 2448 แต่ก็ไม่ทำให้ความนิยมในการใช้รถถดถอยลง หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ในสมัยนั้นจึงมีข่าวอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรางไฟฟ้าพาดหัวไม้ให้อ่านแทบทุกวัน โดยคู่กรณีมีทั้งสองล้อ สามล้อและสี่ล้อ แม้กระทั่งรถยนต์ประสานงากับรถม้าหรือคนเดินเท้าจึงเป็นที่มาของกฎหมายจราจรในเวลาต่อมา จำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนโกงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากมีการขโมยรถแล้วเจ้าของรถบางคนก็ใช้เล่ห์เลี่ยมขายรถแล้วกล่าวหาว่าคนซื้อเป็นขโมย ต้องเดือนร้อนขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อยุติปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรกของไทยขึ้นเมื่อปี 2452 ให้มีผลบังคับใช้ในปีถัดมา พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย และเสียค่าธรรมเนียมคันละ 10 บาท รถยนต์นั่งและรถบรรทุกในพระราชอาณาจักรที่มีการจดทะเบียนในเวลานั่นมีจำนวนดังนี้ เมืองบางกอกและจังหวัดใกล้เคียงมี 401 คัน นครสวรรค์ 1 คัน นครศรีธรรมราช 2 คัน ภูเก็ต 2 คันและภาคเหนือ 6 คัน รถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนโฉมหน้าเมืองบางกอกเป็นอย่างมาก ถนนที่เคยจอแจด้วยรถลากและรถม้าก็มีรถยนต์วิ่งไปมาทั้งวัน ในเวลาต่อมาถนนหลายสายก็ผุดขึ้น ป้อมปราการหลายแห่งเริ่มหายไป ประตูเมืองบางที่ถูกทุบเพื่อนำอิฐและเศษปูนมาปูเป็นถนน
<<++กำเนิดธุรกิจรถยนต์รถอิมพอร์ตเฟื่องฟู++>>

เมื่อมีผู้นิยมใช้รถมากขึ้น ร้านรวงในย่านการค้าเมืองหลวงเริ่มเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์จะมีการขึ้นป้ายประกาศเปิดกิจการของตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหม่ ส่วนใหญ่เจ้าของร้านมักจะเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาหากินในเมืองไทย ซึ่งไม่ต่างกับธุรกิจคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันรถยี่ห้อใหม่ ๆ หลั่งไหลเข้ามาสนองความต้องการของลูกค้าผู้กระหาย -จี.อาร์.อองเดร.ตั้งอยู่สี่กั๊กพระยาศรี ตัวแทนจำหน่ายของอดัม โอเพล แห่งรัสเซลส์ไฮม์ -บางกอก ทรัสต์ ลิมิเทด ตั้งอยู่ยานนาวา ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งของอาร์ม สตรอง ซิดลีด์,ไซเลนท์ ไนท์ และฟอร์ด และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุก รถโดยสารของสตาร์ สโตร์ บริษัทนี้มีอู่ซ่อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรองรับรถได้ถึง 20 คัน
-กองตัวร์ ฟรองซัว ดือ เซียม ตั้งอยู่ถนนสี่พระยา จำหน่ายรถฝรั่งเศสหลายยี่ห้อ
-จอห์น เอ็ม. ดันลอป ตัวแทนจำหน่ายรถของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส จำกัด ของสหรัฐอเมริกา
-เอส.เอ.บี. ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง จำหน่าย รถแบลริโอต์ และมีอู่ซ่อมรถหลายยี่ห้อ
-สยาม อิมพอร์ท คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถนาปิแอร์
-ส่วนรถเปอร์โยต์มีผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวคือ สยาม ฟอเรสต์ ทรัสต์ ลิมิเทด
-วินด์เซอร์ คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถกาเกเนา มีอู่ซ่อมขนาดใหญ่เช่นกัน

ความนิยมการใช้รถทำให้เกิดธุรกิจมือสองตามมา ในปี 2450 โดยพระพิศาลสุขุมวิท โชคดีจับสลากชิงรางวัลรถยนต์ของชาวต่างชาติผู้หนึ่งเสมือนเป็นการขายทอดตลาดรถมือสอง
ข้อมูล เรื่อง รถหลวงที่มา http://www.chuansin.com


รถเต๋าปี 68 รุ่นประหยัดเกียร์ธรรมดา สีเขียวตรงรุ่นปี ผมซื้อจากน้องในเวปตัวถังที่ราคา140,000 บาทและบูรณะให้เป็นสภาพเดิมที่สุด ใช้อุปกรณ์ใหม่ที่มีขายในไทยเกือบ 80%ใช้งบไปรวม250,000บาท ใช้เวลาบูรณะประมาณ1 ปี